วิสัยทัศน์ [Vision]
จังหวัดพังงา เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรกรรมยั่งยืน
สังคมแห่งการเรียนรู้ สู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งความสุข
จุดเน้นการพัฒนา
“ พังงา เป็น WORLD CLASS DESTINATION ” สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล"
วัตถุประสงค์ [Mission]
1. เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดพังงาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2. เพื่อพัฒนาภาคเกษตร (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง ) และอุตสาหกรรมภาคเกษตรให้มีความยั่งยืน
3. อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความสมดุลอย่างยั่งยืน
4. ประชาชนจังหวัดพังงามีคุณภาพชีวิตที่ดีและ มีสังคมน่าอยู่
5. ประชาสังคม มีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยุทธศาสตร์การพัฒนา [Objective]
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างเสริมคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศครบวงจร
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างเสริมระบบการผลิต แปรรูป การบริโภค การค้า การบริหารจัดการ ด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างเสริมระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพและสมดุล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างสังคม ให้มั่นคงและน่าอยู่
อำนาจหน้าที่ของจังหวัด [Duty]
1. บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
3. บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
4. กำกับดูแลการปฏิบัติราชการ อันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการ ซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครูให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือยับยั้งการกระทำใดๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
5. ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการ และหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาคในการพัฒนาจังหวัด หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
6. เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัด และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
7. ควบคุมดูแลการบริหารราการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
8. กำกับการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานองค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
9. บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวงหรืออธิบดีมอบหมาย